China case study
หลายมหาวิทยาลัยในประเทศจีนประสบผลสำเร็จกับการเรียนการสอนแบบ eLearning

หลายมหาวิทยาลัยในประเทศจีนประสบผลสำเร็จกับการเรียนการสอนแบบ e-Learning

ในประเทศจีน การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัยมักจะถดถอยไม่ก้าวหน้าอันเนื่องมาจากชั่วโมงสอนในห้องเรียนไม่เพียงพอ อีกทั้งครูสอนภาษาอังกฤษในห้องเรียนมีจำกัด โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะด้านการพูด โครงการนำร่องในมหาวิทยาลัยหลายแห่งได้แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มการเรียนการสอนแบบ e-learning สามารถเพิ่มศักยภาพให้กับโปรแกรมการสอนภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการได้

ในปี ค.ศ. 2004, บริษัทเพียร์สัน (Pearson) ได้กลายเป็นบริษัทแรกที่นำเสนอการเรียนการสอนในรูปแบบการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ที่เรียกว่า Longman English Interactive (LEI) ซึ่งเป็นโปรแกรมการสอนแบบ e-learning ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัทร่วมธุรกิจท้องถิ่น คือ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยซิงหัว (Tsinghua University Press) ทั้งเพียร์สันและสำนักพิมพ์ได้ตอบรับข้อเรียกร้องของรัฐบาลที่จะปฏิรูปการเรียนภาษาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัย

หลังจากนั้น โปรแกรมได้ประสบผลสำเร็จและขยายไปสู่มหาวิทยาลัยในประเทศจีนกว่า 150 แห่ง ซึ่งได้มีการนำ โปรแกรม LEI มาทดลองใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนภาษาอังกฤษด้านการฟังและการพูดของนักเรียน

ผลลัพธ์ที่ออกมาน่าพอใจเป็นอย่างมาก จากการสำรวจ ซึ่งแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2010 จากมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการสำรวจ มีนักเรียนสอบผ่านข้อสอบภาษาอังกฤษปลายภาคในระดับมหาวิทยาลัยท้องถิ่นเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 17.8%

มหาวิทยาลัยเกษตรหูหนาน (Hunan Agriculture University) มีอัตรานักเรียนสอบผ่านเพิ่มขึ้นถึง 36% นักศึกษาในมหาวิทยาลัยจากโครงการนำร่องที่เรียนภาษาอังกฤษในรูปแบบผสมผสานใหม่นี้ ได้แสดงให้เห็นถึงคะแนนที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในการสอบทักษะด้านการพูด เมื่อเทียบกับนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษในรูปแบบเดิมในห้องเรียน

การเปลี่ยนแปลงไม่ได้มีเฉพาะการวัดระดับคะแนนเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงความสามารถในการเรียนรู้ในแบบโต้ตอบด้วยตนเอง ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยระดับสูงของจีนอย่างมหาวิทยาลัยซิงหัว  การสำรวจแสดงให้เห็นว่าหลังจากการใช้โปรแกรมการเรียนการสอนของเพียร์สันแล้ว นักศึกษาจำนวน 78% เห็นด้วยว่าโปรแกรม LEI ทำให้พวกเขาสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น

นักเรียนจำนวน 83% บอกว่าพวกเขามีความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น ในขณะที่นักเรียนจำนวน 79% คิดว่าพวกเขาสามารถเรียนรู้ได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนักเรียนชาวจีนมีข้อด้อยในจุดนี้ อีกทั้งมีการพูดคุยโต้ตอบกับครูมากขึ้น และมีนักเรียนบางคนได้รางวัลชนะเลิศในการแข่งขันพูดภาษาอังกฤษ

ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ การพัฒนาความเป็นมืออาชีพของเหล่าครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ด้วยการค้นพบ นวัตกรรม และ แนวการสอนภาษาอังกฤษรูปแบบใหม่

มหาวิทยาลัยหูหนานรายงานว่าโปรแกรม LEI ยังช่วยให้ครูผู้สอนได้ปรับปรุงวิธีการสอนของตนเอง เพื่อให้เข้าถึงนักเรียนและยังได้ค้นหาวิธีการสอนเชิงโต้ตอบกับนักเรียนให้มากขึ้น ครูผู้สอนจำนวน 6 ท่านในโครงการนำร่องนี้ได้รับความนิยมสูงสุดในการสอนจากนักเรียน  ครูสองท่านได้รับรางวัลครูสอนภาษาอังกฤษยอดเยี่ยม

โปรแกรม LEI ได้รับรางวัลที่หนึ่งจากกระทรวงศึกษาธิการของจีนในปี ค.ศ. 2007 สำหรับการสนับสนุนเป็นพิเศษเพื่อการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในภาคมหาวิทยาลัย

ประเทศจีนพึงพอใจกับผลตอบรับของโปรแกรม LEI ที่แพร่หลาย และ ไม่ได้มีอยู่แต่ในรั้วมหาวิทยาลัยเท่านั้น

ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ปี ค.ศ. 2008 นักศึกษาจำนวน 3,000 คน จากมหาวิทยาลัยการสื่อสารปักกิ่ง (Beijing Communication University) ได้กลายเป็นอาสาสมัครเพื่อให้บริการ และ สื่อสารภาษาอังกฤษ แก่ชาวต่างชาติที่เข้าประเทศมา เพื่อชมเกมส์การแข่งขัน นักเรียนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่องของมหาวิทยาลัยซึ่งได้ปรับใช้โปรแกรม LEI สำหรับนักเรียนที่ไม่ได้เรียนเอกภาษาอังกฤษ การสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างยอดเยี่ยมของพวกเขาได้รับการยกย่องและชื่นชมจากคณะกรรมการการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค

ในปี ค.ศ. 2011 เพียร์สันได้ขยายโปรแกรม LEI ไปสู่มหาวิทยาลัยระดับรองๆและวิทยาลัยอาชีวศึกษามากขึ้นเพื่อที่จะให้นักเรียนและครูผู้สอนได้เปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนภาษาอังกฤษ

ในปัจจุบัน นักเรียนจีนจำนวนหลักล้านได้ใช้โปรแกรม LEI ในการฝึกพูดซึ่งพวกเขาเหล่านั้นเคยเป็นคนขี้อายที่จะพูดหรือพวกเขาไม่มีโอกาสที่จะพูดภาษาอังกฤษ

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือผลการสำรวจจริง กรุณาส่งอีเมล์ไปยัง eLearning@vantage-siam.com

Share
 
 
© Copyright 2011 Vantage Siam Co., Ltd. All rights reserved. Power by Wewebplus